.....ท่านใช้ความกลัวนี้เป็นครู หรือเป็นอุบายฝึกจิต
ใหัเห็นเหตุเห็นผลกัน ดังนี้
"เวลามีความกลัวเริ่มมากขึ้น สติเริ่มจับ คือจิตนี้
ห้ามบังคับเด็ดขาด ไม่ให้เคลื่อนจากที่ตนต้องการ
เช่น เราบริกรรมพุทโธๆ..ก็ให้อยู่กับคำบริกรรมนี้เท่านั้น เป็นก็ตาม ตายก็ตาม เสือก็ตาม ช้างก็ตาม
สัตว์อันตรายใดๆก็ตาม ไม่ให้ไปคิดไปยุ่ง ให้รู้อยู่
จุดเดียวคือคำบริกรรมนี้เท่านั้น ไม่งั้นมันจะวาดภาพเสือ วาดภาพสิ่งอันตรายมาให้เรากลัว เพราะไปอยู่ในสถานที่ที่น่ากลัวด้วย ต้องบังคับจิตไม่ให้ส่งออกไปภายนอก ให้รู้อยู่กับใจนี้ เป็นกับตายมอบอยู่กับนี้
ธรรมแท้จะปรากฎที่จิต จิตที่กำลังบริกรรมอยู่นั่นแหละคือการสั่งสมพลังของธรรมให้เกิดขึ้นที่ใจ มากน้อยตามความพากเพียรของตน
เมื่อจิตติดแนบอยู่กับคำบริกรรม บังคับไม่ให้ออกไปสู่อารมณ์อันเป็นภัย จิตก็จะเริ่มมีพลังหนุนใจให้มีความหนาแน่นมากขึ้น
จนกระทั่งมีความอาจหาญชาญชัย สุดท้ายจิตดวงนั้นก็จะมีความหนักแน่นเหมือนกับหินทั้งก้อน หรือภูเขาทั้งลูก ทีนี้ความที่ว่ากลัว คิดออกไปหาสิ่งที่น่ากลัวก็ไม่กลัว คิดไปหาสิ่งที่น่ากลัวอันใดก็ไม่กลัวทั้งนั้น แม้ว่าเสือมันจะเดินมาต่อหน้าต่อตา มันจะเดินไปลูบคลำหลังเสือได้อย่างสบายเลยนะ ความรู้สึกมันแน่ในใจอย่างนั้น ไม่คิดว่าเสือจะทำอะไรได้เลย
นี่อาจเป็นความสำคัญผิดของตัวก็ได้ แต่จะสำคัญผิดหรือถูกก็ตาม เมื่อจิตได้กล้าถึงขราดนั้นแล้วมันจะเดินไปลูบคลำหลังเสือได้จริงๆ ด้วยจิตใจอ่อนโยนเมตตาสงสาร ไม่สะทกสท้านคำว่ากลัวไม่มี
จิตเวลามีกำลังมากเวลานั้น จะมีอันตรายอะไรก็เข้ามาเถอะ ว่าอย่างนั้นเลยนะมันอาจหาญขนาดนั้น
เสือก็มา ช้างก็มา ไม่หนีว่าอย่างนั้นเลยนะ แม้มันจะทำเรา ฆ่าเราให้ตายในขณะนั้นก็ตายด้วยความอาจหาญนั่นเอง ให้ตายทั้งความกลัวนี่เป็นไปไม่ได้
เพราะเวลานั้นจิตมีกำลังมาก
นี่เป็นวิธีหนึ่งแห่งการระงับความกลัว แห่งการระงับความฟุ้งซ่าน ความก่อกวนตัวเองด้วยอารมณ์ต่างๆระงับกันอย่างนี้..."